- หน้าหลัก
- ผลิตภัณฑ์และบริการ
- มาตรการช่วยเหลือฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจ
- มาตรการช่วยเหลือลูกค้าธนาคาร
- มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัยภาคใต้
มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากอุทกภัยภาคใต้

ผู้ได้รับผลกระทบทางตรง
ลูกค้ารายเดิมที่ได้รับผลกระทบทางตรง เช่น ที่อยู่อาศัย หรือสถานประกอบการได้รับความเสียหาย อยู่ในพื้นที่ประสบภัยตามประกาศส่วนราชการ
ผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อม
ลูกค้ารายเดิมที่ได้รับผลกระทบทางตรง เช่น ที่อยู่อาศัย หรือสถานประกอบการได้รับความเสียหาย อยู่ในพื้นที่ประสบภัยตามประกาศส่วนราชการ

คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ
- ลูกค้ารายเดิมที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เป็นลูกค้าสินเชื่ออุปโภคบริโภคทั้งแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน หรือสินเชื่อธุรกิจแบบมีกำหนดระยะเวลาของธนาคาร
- กรณีขอผ่อนปรนการชำระหนี้ ณ วันที่ยื่นขอสินเชื่อต้องมีสถานะการจัดชั้นหนี้ไม่เกิน B2 และต้องชำระหนี้ให้เป็นปกติก่อนจัดทำนิติกรรมสัญญา
- กรณีขอวงเงินสินเชื่อส่วนเพิ่ม ต้องมีสถานะการจัดชั้นหนี้ B1
- ยกเว้นลูกค้าที่อยู่ระหว่างชำระเฉพาะกำไร (Grace Period) หรือลูกค้าที่อยู่ระหว่างการผ่อนชำระตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (TDR) หรือผู้ประกอบการด้านพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อขายและสินเชื่อเช่าซื้อ
มาตรการขอผ่อนปรนการชำระหนี้
ผู้ได้รับผลกระทบทางตรง
- สินเชื่ออุปโภคบริโภคแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ให้พักชำระหนี้เงินต้นและกำไรระยะเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นให้พักชำระหนี้เงินต้นโดยชำระเฉพาะกำไรระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน โดยให้ขยายระยะเวลาออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ขอพักชำระหนี้ เมื่อสิ้นสุดมาตรการให้ใช้อัตราค่างวดผ่อนชำระตามสัญญาเดิม ณ เวลานั้น
- สินเชื่อธุรกิจแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกันให้พิจารณาเป็นรายๆ
ผู้ได้รับผลกระทบทางอ้อม
- สินเชื่ออุปโภคบริโภคแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ให้พักชำระหนี้เงินต้นโดยชำระเฉพาะกำไรระยะเวลาสูงสุด 6 เดือน โดยให้ขยายระยะเวลาออกไปเท่ากับระยะเวลาที่ขอพักชำระหนี้ เมื่อสิ้นสุดมาตรการให้ใช้อัตราค่างวดผ่อนชำระตามสัญญาเดิม ณ เวลานั้น
- สินเชื่อธุรกิจแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกันให้พิจารณาเป็นรายๆ
-------------------------------------------------------------------
- กำหนดอัตรากำไรตามสัญญาสินเชื่อเดิม
- ยกเว้นค่าชดเชยผิดนัด (Late charge) ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ประกาศใช้ จนถึงวันที่ทำนิติกรรมสัญญา
มาตรการให้วงเงินสินเชื่อเพิ่มเติม
- ธนาคารจะพิจารณาวงเงินตามความจำเป็นและความเสียหายที่เกิดขึ้น
- ระยะผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติมดังนี้
- กรณีเป็นลูกค้าสินเชื่อแบบมีหลักประกัน ระยะผ่อนชำระต้องไม่เกินระยะเวลาคงเหลือตามสัญญาสินเชื่อแบบมีหลักประกันเดิม
- กรณีขอวงเงินส่วนเพิ่มร่วมกับขอผ่อนปรนการผ่อนชำระหนี้เดิมระยะผ่อนชำระสำหรับขอวงเงินส่วนเพิ่มต้องไม่เกินระยะวลาที่ขอผ่อนปรนการชำระหนี้เดิม
- สำหรับสินเชื่ออุปโภคบริโภคกำหนดอัตรากำไร SPRR - 3.5 % ต่อปี
- สำหรับสินเชื่อธุรกิจกำหนดอัตรากำไร SPRL - 2.75% ต่อปี
- กรณีเป็นสินเชื่อเดิมแบบมีหลักประกันให้ยกเว้นการประเมินราคา
- ยกเว้นบุคคลค้ำประกัน
ค่าธรรมเนียม
- ยกเว้นค่าธรรมเนียม Front end Fee
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมจัดทำนิติกรรมสัญญา
- ค่าธรรมเนียมอื่นให้เป็นไปตามประกาศธนาคาร
ตรวจสอบพื้นที่ประสบภัย
ลูกค้าสามารถตรวจสอบพื้นที่ประสบภัยตามประกาศส่วนราชการ คลิกที่นี่
วิธีตรวจสอบพื้นที่ประสบอุทกภัย ปี 2563 ตามประกาศราชการ
1.เข้าสู่เว็บไซต์ http://portal.disaster.go.th/portal/public/index.do;jsessionid=142F64F78C1C3CBA1605E96098FA77C9#dataTable
2.เลือกจังหวัดที่ต้องการค้นหา
3.เลือกประเภทภัย เลือก อุทกภัย
4.เลือกสถานะ เลือก ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย
5.กดค้นหา
ระยะเวลาดำเนินการ
ยื่นคำขอสินเชื่อภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564
สมัครใช้บริการ
อัตรากำไรสินเชื่อ
รายการ/ชื่อเรื่อง | วันที่มีผลบังคับใช้ |
---|---|
สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (SPR) | ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 |
สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลา (SPRL) | ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 |
สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (SPRR) | ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 |
ผลตอบแทนเงินฝาก
อัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ
ดาวน์โหลดไฟล์แบบฟอร์มการใช้บริการ
อิสลามและเศรษฐศาสตร์
ข่าวสารและ
กิจกรรม
+ ดูทั้งหมดธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติม ระยะที่ 2
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ได้เร่งให้ความช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยตามมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยชั้นดีที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจไปแล้วเกือบ 2,000 ราย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) โดย นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย กรรมการและผู้จัดการธนาคาร ร่วมงานแถลงข่าว “การดำเนินมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 ของกระทรวงการคลัง” ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้นำแถลง ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563