

- หน้าหลัก
- ผลิตภัณฑ์และบริการ
- มาตรการตามนโยบายรัฐ
- สินเชื่อตามนโยบายของรัฐ
- มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวมหนี้ (Debt Consolidation)
มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้สำหรับลูกหนี้รายย่อยด้วยวิธีการรวมหนี้ (Debt Consolidation)

ลูกหนี้ที่มีสินเชื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันกับธนาคาร

คุณสมบัติลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์
- เป็นลูกหนี้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย* กับธนาคารและไม่มีสถานะเป็น NPF ณ วันที่ 1 มีนาคม 2563
- มีบัญชีสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกัน* กับธนาคาร
- ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 สงครามการค้า หรือภัยธรรมชาติ และยังคงมีศักยภาพในการชำระหนี้
หมายเหตุ
- สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยที่ไม่ใช่สินเชื่อภายใต้โครงการบ้านแลกเงิน (Home for Cash)
- สินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกัน หมายถึงสินเชื่อบุคคลภายใต้การกำกับฯ รวมถึงสินเชื่อสวัสดิการพนักงานบุคคลากรภายนอก (MOU) ไม่รวมถึง โครงการสินเชื่อบำเหน็จตกทอด และโครงการสินเชื่อธุรกิจรายย่อย MSMEs
แนวทางให้ความช่วยเหลือ
ปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยปรับลดอัตรากำไรและขยายระยะเวลาผ่อนชำระสำหรับสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกัน ที่มีภาระหนี้คงเหลือไม่เกินส่วนต่างมูลค่าหลักประกันของสินเชื่อที่อยู่อาศัย
(เช่น เดิมลูกหนี้มีวงเงินสินเชื่อที่อยู่อาศัย 5 ล้านบาท ปัจจุบันภาระหนี้คงเหลือ 4 ล้านบาท มีส่วนต่างมูลค่าหลักประกัน 1 ล้านบาท ดังนั้นบัญชีสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกันที่ขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ในครั้งนี้ต้องไม่เกิน 1 ล้านบาท เป็นต้น)
อัตรากำไรและระยะเวลาผ่อนชำระ
- สินเชื่อที่อยู่อาศัย อัตรากำไรและระยะเวลาผ่อนชำระตามเงื่อนไขเดิมของสัญญา
- สินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่มีหลักประกัน อัตรากำไรเท่ากับ SPRR ตามประกาศธนาคาร และสามารถให้ขยายระยะเวลาผ่อนชำระออกไปอีกไม่เกิน 5 ปีจากสัญญาเดิม และไม่เกินระยะเวลาคงเหลือตามสัญญาสินเชื่อที่อยู่อาศัยของลูกหนี้
ค่าธรรมเนียม
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมนิติกรรมสัญญา
- ยกเว้นค่าธรรมเนียมชำระคืนเสร็จสิ้นก่อนครบกำหนดอายุสัญญา (Prepayment Fee)
- ค่าธรรมเนียมอื่นเป็นไปตามประกาศธนาคาร
ระยะเวลาดำเนินการ
รับคำขอตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
ช่องทางการให้บริการ
ลูกค้าสามารถติดต่อยื่นคำขอเข้าร่วมมาตรการผ่านสำนักงานใหญ่(ฝ่ายสินเชื่อรายย่อย) หรือสาขาธนาคารทั่วประเทศ
สมัครใช้บริการ
อัตรากำไรสินเชื่อ
รายการ/ชื่อเรื่อง | วันที่มีผลบังคับใช้ |
---|---|
สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (SPR) | ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2563 |
สำหรับลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี ประเภทสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลา (SPRL) | ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2563 |
สำหรับลูกค้ารายย่อยชั้นดี (SPRR) | ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2563 |
ผลตอบแทนเงินฝาก
อัตราค่าธรรมเนียมอื่นๆ
รายการ/ชื่อเรื่อง | จำนวนเงิน |
---|---|
ค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ราชการ(1/) ค่าอากรแสตมป์ ต้นฉบับสัญญาสินเชื่อ | ค่าอากร ทุก 2,000 บาท คิด 1 บาท เศษของ 2,000 บาท คิด 1 บาท สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท |
ค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ราชการ(1/) ค่าอากรแสตมป์ คู่ฉบับสัญญาสินเชื่อ | ฉบับละ 5 บาท |
ค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ราชการ(1/) ค่าอากรแสตมป์ ต้นฉบับสัญญาค้ำปรค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ราชการ(1/) ค่าอากรแสตมป์ ต้นฉบับสัญญาค้ำประกัน (ถ้ามี)ะกัน (ถ้ามี) | ฉบับละ 10 บาท |
ค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ราชการ(1/) ค่าอากรแสตมป์ คู่ฉบับสัญญาค้ำประกัน (ถ้ามี) | ฉบับละ 5 บาท |
ค่าธรรมเนียม/ค่าใช้จ่ายที่จ่ายให้แก่ราชการ(1/) ค่าใช้จ่ายในการจดจำนอง (ที่ดิน/สิ่งปลูกสร้าง) | ร้อยละ 1 ของวงเงินจดจำนอง สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท |
ดาวน์โหลดไฟล์แบบฟอร์มการใช้บริการ
อิสลามและเศรษฐศาสตร์
ข่าวสารและ
กิจกรรม
+ ดูทั้งหมดธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ออกมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติม ระยะที่ 2
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ได้เร่งให้ความช่วยเหลือลูกค้ารายย่อยตามมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยชั้นดีที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจไปแล้วเกือบ 2,000 ราย
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) โดย นายวุฒิชัย สุระรัตน์ชัย กรรมการและผู้จัดการธนาคาร ร่วมงานแถลงข่าว “การดำเนินมาตรการดูแลและเยียวยาผลกระทบจาก COVID-19 ของกระทรวงการคลัง” ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นผู้นำแถลง ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 4 กระทรวงการคลัง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2563